หลักการนำเสนอข้อมูลและสร้างสื่อนำเสนอ
การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมเนื้อหา
ของผู้บรรยายไปยังผู้ฟังและผู้ชม ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี
จะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ผู้ฟังและผู้ชมจะสามารถ จดจำเนื้อหาสาระได้นานและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีมากขึ้น
ความหมายการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้
ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ
ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1. เพื่อให้ผู้ชม
ผู้ฟังรับเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูล
2. ให้ผู้ชม
ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์
มีผลในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการ
ค้นพบจากการวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ตา
และหูพร้อมกันนั้น
ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่าส่งผลในด้านความสามารถในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตา
หรือ หูอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
จึงได้มีการพัฒนาสื่อโสตทัศนูปกรณ์รูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยเฉพาะสื่อประสม
หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน มีจุดเน้นสำคัญดังนี้
1) การดึงดูดความสนใจ
โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง
และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ
เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน
ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย
การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "A
picture is worth a thousand words" หรือ "ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ" แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ
ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม
ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
3) ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย
เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม
แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ
การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูนอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป
หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการนำเสนองาน
หลักการเลือกซอฟต์แวร์
และหลักการนำเสนอผลงานโดยใช้ซอฟต์แวร์
1) ทำความเข้าใจกับงานที่เราต้องการนำเสนอ
ก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนองานนั้น
เราต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่เราต้องการนำเสนอก่อนว่า เป็นงานในลักษณะใด เช่น
เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณหรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล
เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ
2) เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้
เมื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว
เราจะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำเสนองานนั้น
งานบางอย่างเราอาจใช้ระบบสารสนเทศในการนำเสนอได้หลายอย่าง
เราอาจต้องเลือกว่าจะใช้ระบบใด ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในความสามารถของระบบนั้น
โดยเฉพาะในส่วนของซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมว่าแต่ละโปรแกรมมีความสามารถใดบ้าง
เราอาจจะต้องทำการประเมินว่าโปรแกรมใดมีความเหมาะสมเพียงใด
แล้วจึงเลือกโปรแกรมที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด
3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน
ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน
ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน
ในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น
ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้เลย
ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจเลือกได้ตามความต้องการว่าเป็นเครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ
หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว
หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด
และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่
เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด
และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น
4 ) การใช้งานโปรแกรม
ในการใช้งานนั้น
นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว
รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน
ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความสามารถก่อน
ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชั่นที่มีอยู่
แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ผู้ใช้ต้องทดลองเอง
จึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ
ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น
ทำให้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งานในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น
ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน
ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบ คือ
1. การนำเสนอแบบ Web
page
เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต
การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน
สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า
รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ
2. การนำเสนอแบบ Slide
Presentation
เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ
ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ
สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น
สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก
ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ
สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ
จะเน้นความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการสรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่
1) สื่อความหมายได้รวดเร็ว
สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบ
สื่อนำเสนอในประเด็นนี้ผู้ออกแบบจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย
เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่
และเวลาที่ต้องการนำเสนอเพื่อประกอบการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก
สื่อควรมีให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่
กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่นการนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือฝึกอบรม
สื่อนำเสนอควรให้ ความสำคัญกับเนื้อหารวมทั้งยังสามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อ มาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน
กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ เช่นผู้บริหาร นักวิชาการ
สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและตัว
ผู้นำเสนอเป็นสำคัญเนื้อหาควรมุ่งเฉพาะเป้าหมายของการนำเสนอ ไม่เน้น Effect มากนัก กลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่
การนำเสนอมักใช้ความสำคัญกับผู้บรรยายมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ ดังนั้น
สื่อนำเสนอไม่ควรเน้นที่ Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดตัวอักษร
สีตัวอักษร และลักษณะของสีพื้นสไลด์
2) เนื้อหาเป็นลำดับ
สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย
ไม่สับสนสิ่งที่
จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำเสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบ และดูง่าย
คือ
2.1) รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า
หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ เทคนิคการเน้นแนวคิดหลัก( Main
Idea) ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว
ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วยสีแดงเป็นต้น
แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด
ควรสรุปเนื้อหาให้เป็นหัวเรื่อง (Title) และหัวข้อ(Topic) หรือแนวคิดหลัก (Main Idea)
2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์
ควรให้ความสำคัญ กับขนาดตัวอักษร ดังนี้
- หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย
- เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม
- เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น
ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการเน้น
- ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา
- ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน
ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้า
- พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว
- ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด
- ใช้สีที่แตกต่างกัน
หรือตัวอักษรสีสลับกัน
3) สื่อนำเสนอต้องสะดุดตาและน่าสนใจ
สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้
ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่แตกต่างออกไป
รวมถึง การเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ที่เหมาะสมประกอบ การนำเสนอ
3.1) การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ชม ผู้ฟัง
สามารถจดจำได้นานกว่าตัวอักษร ดังนั้น
การแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความน่าสนใจ
ให้กับสื่อที่นำเสนอการเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกันและกัน
คือถ้าในสไลด์นั้นเลือกใช้ ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับภาพทุกภาพในสไลด์
แต่ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรเลือก
ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสมกับภาพถ่าย
ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การเอียงภาพ
การเว้นช่องว่างรอบภาพ
การเปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ
ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ เพราะอาจจะทำให้ผู้ชมสนใจ
พื้นสไลด์มากกว่าเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ
หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เนื่องจากภาพทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น
ไม่น่ามอง หรืออ่านยาก
3.2) การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร
สีวัตถุ และสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ
สีตัวอักษรก็ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข็มหรือสีแดงเลือดหมู
กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีเข็ม ควรเลือกใช้สีตัวอักษรที่มองเห็นได้ชัด
ในระยะไกลเช่น สีขาว สีฟ้าอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด
สีเหลือกสด สีเขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง
ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และสีพื้นด้วย การเลือกใช้สีใด ๆ
ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ทั้งหมด ไม่ควรใช้หนึ่งสี หนึ่งไลด์
3.3) การใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ
ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป
เพราะจะส่งผลให้ผู้ชม ผู้ฟัง สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ
หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect ที่มากนี้จะเป็น
การรบกวนการจดจำ การอ่าน หรือการชมอย่างรุนแรง เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ ในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effectแสดงข้อความที่เลื่อนจากขอบ ซ้ายมาขอบขวา ของจอ
เนื่องจากธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านข้อความจากกรอบบนลงมา
และอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา
อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน
อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงในงานนำเสนอเพื่อให้งานนำเสนอมีคุณภาพ
เข้าถึงผู้ชมและผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. โพรเจกเตอร์ (Projector)
เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ
โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี
และเครื่องกำเนิดภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้น
เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน
2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer)
เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง
ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลย
โดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่าง ๆ
โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ
และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว
แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย
การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต
3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital
Camera)
เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง
เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์
ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย
ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้
และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย
โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์ม
4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล
เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้
และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย
โดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
5. คอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น
โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
6. เครื่องเล่นเสียง
หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3)
เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้
โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป อย่างไรก็ตาม
หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า
จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย
7. สมาร์ทโฟน
เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก
ง่ายต่อการติดตั้ง
เพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล
แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ
นอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว
ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนองานคือ คำบรรยาย หรือบทพากย์
ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง
โดยมีวิธีการและหลักในการพิจารณาดังนี้
1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม
ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี
หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ
แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่น
ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
ลักษณะการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล(Present Data)
คือ
การสื่อสารข้อมูลหรือการส่งข้อมูลจากผู้นำเสนอข้อมูลไปสู่ผู้รับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ
เพื่อให้ผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง การนําเสนอข้อมูลให้
ประสิทธิภาพผู้นำเสนอข้อมูลควรพิจารณาความพร้อมของตนเอง ผู้รับข้อมูล ข้อมูล
และเทคโนโลยีทีใช้ในการนําเสนอข้อมูล
ผู้นําเสนอข้อมูลควรเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ผู้นำเสนอข้อมูลควรใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลตามรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ
ดังนี้
1.ตัวหนังสือหรือตัวอักษร (Text)
เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นิยมใช้ในการนําเสนอทุกงาน
การนําเสนอตัวหนังสือหรือตัวอักษรควรพิจารณาตัวอักษร สีตัวอักษร สีพื้นหลัง
และรูปแบบของตัวหนังสือ หรือตัวอักษรที่ส่งเสริมการอ่านของผู้รับข้อมูล
2.รูปภาพหรือหรือภาพนิ่ง (Image)
เป็นข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมความน่าสนใจและช่วยให้เข้าใจข้อมูลที่นําเสนอมากยิ่งขึ้น
รูปภาพหรือภาพนิ่งทีใช้ในการนําเสนอข้อมูลควรเลือกเป็นภาพสีที่มีความชัดเจน
3.แผนภูมิ แผนผัง และกราฟ (Diagram)
เป็นข้อมูลที่ช่วยสรุปรายละเอียดที่มีจำนวนมาก
ให้นำเสนอในลักษณะที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นเหมาะสําหรับข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบ
4. เสียง (Sound)
เป็นข้อมูลทีช่วยให้งานนําเสนอมีความน่าสนใจมากยิ่งขึน
ระดับเสียงที่ใช้ในการนําเสนอ ไม่ควรดังหรือค่อยเกินไป
และผู้รับข้อมูลสามารถเลือกเปิดหรือปิดเสียงที่ใช้ประกอบนําเสนอได้
5.ภาพเคลื่อนไหว(Motion)
เป็นข้อมูลที่พัฒนามาจากข้อมูลภาพนิ่ง ด้วยการเรียงซ้อนภาพนิ่งหลายๆ
ภาพด้วยความเร็วสูงทําให้มีลักษณะเหมือนวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว
รูปแบบการนำเสนอ
การนําเสนอข้อมูลเป็นกระบวนการในการทํางานเพื่อให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้นำเสนอข้อมูลต้องการให้ผู้รับรู้การนําเสนองานเป็นส่วนหนึ่งของการนําเสนอข้อมูล
ซึ่งนิยมนําเสนอในรูปแบบที่สามารถจับต้องหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในกระบวนการทํางานนั้นๆได้
การนําเสนองานสามารถปฏิบัติได้หลายรูปแบบ เช่น เอกสารสิงพิมพ์ มัลติมีเดีย
และเว็บไซต์
เอกสารสิ่งพิมพ์
ปัจจุบันมีการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการทํางานด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์บนสื่อต่างๆ
จนถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ที่ใช้สําหรับสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ไม่ต้องมีประสิทธิภาพสูงเท่ากับการนําเสนอด้วย
มัลติมีเดีย และเว็บไซต์ โดยใช้ฮาร์ดแวร์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์
ส่วน ซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้แก่โปรแกรมด้านการประมวลผลคําหรือโปรแกรมด้านการพิมพ์
มัลติมิเดีย(Multimedia)
หรือสื่อประสม หรือ สื่อหลายแบบ เป็นการใช้สื่อในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น
ข้อความเสียง รูปภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว สําหรับให้ข้อมูลความรู้หรือให้ความสําราญต่อผู้ชม
สามารถประยุกต์สื่อต่างๆ ให้มารวมกันบนระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้
สามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้
เทคโนโลยีเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น
การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและ บันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจําให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น
เว็บไซต์(Website)
หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า
ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ส่วนใหญ่จัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์
โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บหน้าแรกของเว็บไซต์ทีเก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า
โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี
แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล
ในเว็บไซต์นั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น